วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

อนุทินครั้งที่ 13 
24 เมษายน พ.ศ.2562

เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED2203

ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ



คณิตศาสตร์สําหรับปฐมวัย
ความสําคัญของคณิตศาสตร์สําหรับปฐมวัย
1. ทำใหhเป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก์ปัญหาเป็น โดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐา
2 ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิผล
4. เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสํารวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผลการดําเนินงาน
5. เรียนวิชาต่างๆ ได้ดี เพราะคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของวิชาอื่นๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย

1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคําศัพท์
2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
3.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคําตอบ
4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5.เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคําตอบด้วยตนเอง

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา


สาระที่ 2 การวัด
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด


สาระที่ 3 เรขาคณิต
อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial 
reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) 
ในการแก้ปัญหา


สาระที่ 4 พีชคณิต
เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา


สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ 
อย่างสมเหตุสมผลใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา


สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อ 
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ 
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ 


         เรียนการสอนมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเปรียบเทียบจำนวน เครื่องหมาย มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ ก่อนจะสอนในเรื่องของการจับคู่ วิธีการให้เด็กได้มีโอกาสในการจับคู่ โดยมีเกณฑ์ในการกำหนด
อาจารย์ได้ทำการสอนถึงเรื่องของการทำแผ่นผังการแยก จำแนก ทางคณิตศาสตร์ โดยการยกตัวอย่างหัวข้อใกล้ตัว ได้แก่เรื่อง ไข่ 



อาจารย์ทำให้ดูและให้นักศึกษาช่วยกันคิด
หัวข้อใหญ่ ไข่
หัวข้อรอง 1.ชื่อ
                              -ไข่ไก่
                              -ไข่เป็ด
                              -ไข่เต่า
                              -ไข่นกกระทา
                              -ไข่จิ้งจก

                  2.ลักษณะ
                              -สี (ครีม / ดำ / ขาว)
                              -รูปทรง (ทรงรี ทรงกลม)
                              -ขนาด (ใหญ่ / กลาง / เล็ก / จิ๋ว)
                              -ผิว (เรียบ / ขรุขระ)

                  3.การดำรงชีวิต
                              -อาหาร (น้ำ / แมลง / ปลายข้าว / รำข้าว)
                              -ที่อยู่อาศัย (เล้าไก่ / สุ่มไก่)
                              -อากาศ

                 4.ประโยชน์
                              -ทำอาหาร
                              -สร้างรายได้ (ฟาร์มไก่ / ขายไข่ไก่)
                              -แปรรูป (ไข่เยี่ยวม้า / ไข่เค็ม)

จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาทำในเรื่องของนก




รูปภาพขณะทำกิจกรรม




และจากนั้นอาจารย์ก็ได้ตั้งคำถามว่า...........
จะทำอย่างไรที่จำให้ผู้ปกครองทราบว่าเราสอนเรื่องนี้ให้กับเด็กห้องของเรา 
เพื่อนจึงตอบว่า แผ่นพับ จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบาย และให้นักศึกษากลับไปทำแผ่นพับเป็นการบ้าน ส่งในบลอค

อาจารย์อธิบายแผ่นพับ 







ดิฉันเลยจำลองชื่อเด็ก มาเพื่อทำแผ่นพับส่งเป็นการบ้าน 


และคาบนี้เป็นคาบเรียนสุดท้ายของวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จึงได้ถ่ายภาพไว้เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ




รักและเคารพ..............




ความรู้ที่ได้รับ
1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับ การทำแผ่นพับ 
2 ได้รับความรู้ในเรื่องการสื่อสารกับครูผู้ปกครอง

คำศัพท์ 
Brochures = แผ่นพับ
exercise = แบบฝึกหัด
Questioning = การตั้งคำถาม
Skills = ทักษะ
measurement = การวัด

การประเมิน
อาจารย์ ยังคงเข้าห้องเรียนตรงเวลา และให้ความรู้ได้เต็มศักยภาพ
เพื่อน ตั้งใจและฟังที่อาจารย์อธิบาย
ตัวเอง เขาห้องเรียนตรงเวลา ฟังอาจารย์











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น